Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

ประเภทของการพิมพ์ มีอะไรบ้าง?


การพิมพ์แบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่าง ดังนี้

1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
1.1 ศิลปภาพพิมพ์ ( GRAPHIC ART ) เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็น งานวิจิตรศิลป์
1.2 ออกแบบภาพพิมพ์ ( GRAPHIC DESIGN ) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอก เหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรต่างๆ ภาพโฆษณา ปฏิทิน ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์

2. แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
2.1 ภาพพิมพ์ต้นแบบ ( ORIGINAL PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธี การพิมพ์ที่ถูก สร้างสรรค์และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน และเจ้าของผลงาน จะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น บอกลำดับที่ในการพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ และ วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ด้วย
2.2 ภาพพิมพ์จำลองแบบ ( REPRODUCTIVE PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์ หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

3. แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท
คือ
3.1 ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะ เหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
3.2 ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะ ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม

4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ
4.1 แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ
4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร
4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT )
4.4 แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น

รูปแบบของงานที่ได้จากการพิมพ์มีอะไรบ้าง?


ผลงานที่ได้จากการพิมพ์ มี 2 ชนิด คือ 
1. ภาพพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่เป็นภาพต่างๆ เพื่อความสวยงามหรือบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อาจมีข้อความ ตัวอักษรหรือตัวเลขประกอบหรือไม่มีก็ได้
2. สิ่งพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข อาจมี ภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้

การพิมพ์ภาพ ( PRINTING )


การพิมพ์ภาพ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะ เหมือนกันกับแม่พิมพ์ทุกประการ และได้ภาพที่เหมือนกันมีจำนวนตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป

การพิมพ์ภาพเป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการวาดภาพ ซึ่งการวาดภาพไม่สามารถ สร้างผลงาน 2 ชิ้น ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการได้ จึงมีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นมา ชาติจีน ถือว่าเป็นชาติแรกที่นำเอาวิธีการพิมพ์มาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี จากนั้น จึงได้แพร่หลายออกไปในภูมิภาคต่างๆของโลก ชนชาติทางตะวันตกได้พัฒนาการพิมพ์ภาพ ขึ้นมาอย่างมากมาย มีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆเข้ามาใช้ในการพิมพ์ ทำให้การพิมพ์มีการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

การพิมพ์ภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. แม่พิมพ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์
2. วัสดุที่ใช้พิมพ์ลงไป
3. สีที่ใช้ในการพิมพ์
4. ผู้พิมพ์

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วย Chine Colle of Print Techniques

Chine Colle
Chine คือ กระดาษชนิดหนึ่งที่มีเนื้อสีนวล ผิวเนียนบางมาก สามารถนำมาปะติดด้วยกาวแป้งเปียกลงบนกระดาษภาพพิมพ์ ก่อนที่จะนำไปพิมพ์ภาพทับเพื่อให้ได้น้ำหนักของพื้นที่สี ที่แตกต่างกันออกไป

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วย Acid of Print Techniques


Acid
คือ น้ำกรดที่ใช้สำหรับกัดผิวหน้า ของแม่พิมพ์ในเทคนิคแม่พิมพ์โลหะ ( Etching ) เพื่อทำให้เกิดเส้นหรือน้ำหนักต่างๆ กรดที่ใช้ทั่วไปได้แก่ กรดไนตริก กรดไฮโดรคลอลิค และเฟริกคลอไรด์

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์แบบ Edition of Print Techniques


Edition
งานพิมพ์ชิ้นๆหนึ่งสามารถพิมพ์จำนวนพิมพ์ ( edition) ได้ตั้งแต่หนึ่งชิ้นของผลงานไปจนถึง หลายพันชิ้น การพิมพ์ผลงานจำนวนมาก อาจทำความเสียหายแก่แม่พิมพ์ได้ ซึ่งทำให้คุณภาพของงานออกมาไม่ดี หรือมีมาตรา ฐานไม่เพียงพอ ดังนั้นเพื่อรักษามาตราฐานคุณภาพของผลงาน จึงมีการกำหนดจำนวนพิมพ์ ( edition) ของงานไว้อยู่ในราว หนึ่งร้อยชิ้น แต่ส่วนใหญ่มักจะนิยมพิมพ์กันโดยประมาณ 30-40 ชิ้น ส่วนงานภาพพิมพ์สีที่ใช้แม่ พิมพ์หลายแม่พิมพ์นั้นจะยุ่งยาก และใช้เวลามากในการพิมพ์ กรณีนี้จำนวนพิมพ์ของผลงานจึงกำหนดให้น้อย ลงไปอีก

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์แบบ Monotype of Print Techniques


Monotype
วิธีการนี้ศิลปินจะวาด ระบายหรือกลิ้งสีบนพื้นผิวหน้าของวัสดุชนิดต่างๆ เช่น แผ่นพลาสติก กระดาษ สังกะสี หรือแผ่นไม้ จากนั้นนำกระดาษมากดทับ หรือนำภาพที่วาดไว้ดังกล่าวไปพิมพ์ผ่านแท่นพิมพ์ วิธีการแบบนี้สามารถสร้างรูปได้เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์แบบ Silksceen of Print Techniques


Silksceen
หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า Serigraph วิธีการที่ง่ายที่สุดของเทคนิคนี้ก็คือ ศิลปินจะกันส่วนต่างๆที่ไม่ต้องการให้เกิดภาพของแม่พิมพ์ที่ขึงจากตะแกรงผ้า (ส่วนใหญ่เป็นผ้าใยสังเคราะห์ที่มีคุณภาพ คล้ายผ้าไหม) ขึงบนกรอบเฟรม จากนั้นหมึกพิมพ์จะถูกปาดด้วยยางปาดผ่านแม่พิมพ์ลงสู่กระดาษด้านล่าง โดยหมึกจะสามารถผ่านพื้นที่แม่พิมพ์ที่ไม่ได้ถูกกันเท่านั้นลงปรากฎบนกระดาษเป็นภาพ งานซิลค์สกรีนที่ใช้หลายๆสี สามารถทำได้โดยการพิมพ์ผ่านแม่พิมพ์หลายแม่พิมพ์ คือแม่พิมพ์แต่ละแม่พิมพ์สำหรับสีแต่ละสี นอกจากวิธีนี้ศิลปินสามมารถเขียนภาพลงบนแผ่นฟิล์มใสด้วยหมึกที่มีความทึบแสง หรือแสงไม่สามารถส่องผ่านได้ ถ้าเป็นงานภาพพิมพ์สี ศิลปินจะ ต้องแยกสีโดยการ เขียนแยกลงบนแผ่นฟิล์มแต่ละแผ่น ซึ่งต้องทับซ้อนให้พอดีกัน จากนั้นภาพบนฟิล์มจะถูกถ่าย ทอดลง บนแม่พิมพ์โดย กระบวนการฉายแสง คือใช้น้ำยาไวแสงผสมกับกาวอัดเคลือบให้ทั่วแม่พิมพ์ นำแผ่น ฟิล์มที่เขียนไว้วางทับแม่พิมพ์ แล้วนำไปฉายด้วยแสงไฟ จากนั้นนำไปฉีดน้ำ พื้นที่ที่ศิลปินไม่ได้เขียน ด้วยหมึกทึบแสงจะถูกกันไว้ด้วยน้ำยาไวแสงที่แข็งตัวและติดแน่น เมื่อนำไปพิมพ์หมึกพิมพ์จะไม่สามารถผ่านได้ การพิมพ์เทคนิคนี้เริ่มแพร่หลายในยุโรป เมื่อปลายทศวรรษที่ 1940 นี้เอง

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์แบบ Lithography of Print Techniques


Lithography
คำว่า ลิโธกราฟ (ภาพพิมพ์หิน) หรือ Planographic process คือ กระบวนการทำภาพพิมพ์ที่มีแม่พิมพ์ผิวเรียบแบน เป็นการวาดเส้นลงแผ่นหิน นอกจากแผ่นแม่พิมพ์หินเนื้อดีแล้ว แม่พิมพ์ที่ผลิตเป็นพิเศษจากโลหะก็สามารถนำมาใช้กับเทคนิคนี้ได้ วิธีการของเทคนิคนั้นอาศัยหลักความจริงที่ว่า ไขมันกับน้ำจะไม่รวมตัวเข้าด้วยกัน ดังนั้น ภาพที่เขียนลงบนแม่พิมพ์ จะเขียนด้วยวัสดุที่มีส่วนผสมของไข จากนั้นจะทำแม่พิมพ์ให้ชื้นด้วยน้ำ แล้วจึงนำหมึกซึ่งมีส่วนผสมของไขกลิ้งลงบนผิวหน้าของแม่พิมพ์ หมึกจะติดกับภาพที่ร่างไว้ด้วยไข แต่จะไม่ติดลงบนผิวแม่พิมพ์ที่เปียกชื้น จากนั้นพิมพ์ภาพโดยผ่านแรงกดจากแท่นพิมพ์ สำหรับการพิมพ์จำนวนมากนั้น ต้องรักษาแม่พิมพ์โดยการใช้สารเคมีเคลือบเพื่อปกป้องภาพที่ร่างด้วยไขให้ติดแน่นกับแม่พิมพ์ แล้วใช้กาวอะราบิคเคลือบให้ทั่วแม่พิมพ์อีก ขั้วหนึ่งเพื่อป้องกันไขมันอื่นๆที่สามารถติดลงบนแม่พิมพ์ได้ สำหรับการสร้างภาพที่มีลักษณะเป็นสี ศิลปินจะใช้การแยกแม่พิมพ์

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์โลหะแบบ Sugar-lift etching of Print Techniques

Sugar-lift etching
คือการเขียนภาพลงบนแม่พิมพ์โลหะด้วยน้ำเชื่อม (น้ำผสมกับน้ำตาลต้มจนได้ที่แล้วผสมด้วยหมึก หรือ สีดำ) จากนั้นใช้วานิชดำผสมบางๆ เคลือบผิวหน้าของแม่พิมพ์ทั้งหมด พอวานิชหมาด จึงนำแม่พิมพ์ไปฉีดหรือแช่ด้วยน้ำอุ่น น้ำตาลที่เขียนไว้ก็จะละลายออกมากับน้ำ นำแม่พิมพ์ไปโรยยางสน และกัดกรดตามกรรมวิธีแม่พิมพ์โลหะ วิธีการนี้จะทำให้ได้ร่องรอยและลักษณะของฝีแปรง เช่นเดียวกับการเขียนด้วยพู่กันในงานจิตรกรรม

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์