โดยปกติสารยึดติดที่นำมาใช้งานจะอยู่ในรูปของเหลว เพื่อช่วยให้สารยึดติดไหลไปได้ทั่วบนผิวหน้าของวัสดุที่ต้องการยึดติด จากนั้นนำวัสดุที่ต้องการยึดติดอีกชิ้นมาประกบ ในการเกิดการยึดติดนั้น สารยึดติดจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็งหรือเจลยึดติดเข้าด้วยกัน ในการเปลี่ยนสถานะของสารยึดติดจากของเหลวเป็นของแข็งสามารถกระทำได้ 4 วิธี คือ การเกิดพอลิเมอร์( polymerization ) การปล่อยตัวพา( releasing carrier ) การปล่อยให้เย็นลง( cooling ) และการใช้แรงกด( pressuring )
2.1 การเกิดพอลิเมอร์ การแข็งตัวของสารยึดติดโดยการเกิดพอลิเมอไรเซชัน เป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพอลิเมอร์เพื่อให้เกิดการยึดติดด้วยการเชื่อมโยงระหว่างโซ่ของพอลิเมอร์จนเกิดเป็นโครงสร้าง 3 มิติ หรือร่างแห ให้การยึดติดที่แข็งแรง สารยึดติดที่แข็งตัวด้วยวิธีนี้เป็นเรซินหรือตัวยึดประเภทเทอร์โมเซต ซึ่งมีสมบัติสำคัญเฉพาะตัวทางเคมี สามารถก่อให้เกิดการเชื่องโยงได้ เมื่อสารยึดติดเกิดการแข็งตัวแล้วจะไม่สามารถหลอมเหลวละลายได้ง่ายด้วยความร้อนหรือนำกลับมายึดติดใหม่ได้ สารยึดติดที่สามารถแข็งตัวโดยการเกิดพอลิเมอร์ ได้แก่ อะคริลิกที่มีอีพอกซีผสมอยู่
โดยปกติปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์สำหรับสารยึดติดเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน ดังนั้นแนวสารยึดติด( adhesive line ) จะอุ่นกว่าบริเวณอื่น การเกิดปฏิกิริยานี้มีข้อดีกว่าการแห้งหรือแข็งตัวของสารยึดติดโดยวิธีปล่อยตัวพา คือ ความแข็งแรงของพันธะยึดติดที่แนวสารยึดติดจะแข็งแรงกว่า
2.2 การปล่อยตัวพา การแห้งหรือแข็งตัวโดยการปล่อยตัวพาเป็นการแห้งหรือแข็งตัวของสารยึดติดฐานตัวทำลายหรือฐานน้ำ ที่มีการใช้ตัวทำละลายและน้ำเป็นตัวพาเพื่อช่วยปรับความหนืดของสารยึดติดให้ได้การเปียกที่เหมาะสม ทำให้สารยึดติดสามารถแผ่ได้ทั่วบนผิวหน้าวัสดุที่ต้องการยึดติด หลังจากการใช้สารยึดติดแล้วจำเป็นที่จะต้องปล่อยตัวทำละลายหรือตัวพาออกไป เพื่อช่วยให้สารยึดติดเปลี่ยนสภาพเป็นของแข็งบนผิวหน้าของวัสดุที่ต้องการยึดติด ซึ่งการปล่อยสามารถทำได้โดยการดูดซึมตัวพาหรือระเหยไล่ตัวพาออกไป
2.3 การปล่อยให้เย็นลง การแห้งหรือแข็งตัวของสารยึดติดด้วยการปล่อยให้สารยึดติดเย็นลงแล้วสารยึดติดจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง สารยึดติดที่ใช้วิธีการนี้เป็นพอลิเมอร์ชนิดเทอร์โมพลาสติก ขณะใช้งานเทอร์โมพลาสติกจะอ่อนตัวหรือหลอมตัวด้วยความร้อนแล้วทาไปบนวัสดุที่ต้องการยึดติด จากนั้นประกบวัสดุที่ต้องการยึดติดเข้าด้วยกันและปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นลง สารยึดติดจะเหนียวและกลายเป็นชั้นที่แข็งตัวระหว่างวัสดุที่ต้องการยึดติด สารยึดติดที่ใช้วิธีนี้ คือ สารยึดติดฮอทเมลท์ ความร้อนที่ใช้จะต้องมากพอที่ทำให้เทอร์โมพลาสติกหลอมและไหลได้ทั่วบนผิววัสดุที่ต้องการยึดติด
2.4 การใช้แรงกด วิธีนี้ไม่เชิงเป็นการแห้งหรือแข็งตัวของสารยึดติด แต่เป็นการใช้แรงกดช่วยให้เกิดการยึดติด สารยึดติดที่ใช้จะไวต่อแรงกด( pressure-sensitive adhesive ) มีความเหนียวหนืดที่ถาวรซึ่งเป็นลักษณะที่เมื่อแยกสารยึดติดที่หลังจากยึดติดแล้ว สารยึดติดยังคงสภาพเหนียวหนืดอยู่ สารยึดติดชนิดนี้เวลาใช้งานไม่ต้องปรับสภาพความหนืดให้ต่ำ และเนื่องจากมีความเหนียวหนืดที่ถาวร สารยึดติดจึงต้องได้รับการป้องการยึดติดที่อาจเกิดขึ้นก่อนการนำมาใช้งานด้วยกระดาษชนิดที่ไม่ทำปฏิกิริยาหรือยึดติดกับสารยึดติดที่เรียกว่า รีลีสซิ่งเพเพอร์( releasing paper ) เมื่อใช้งานจะต้องลอกกระดาษนี้ออก กระดาษชนิดนี้จะไม่มีร่องรอยของสารยึดติดตกค้างอยู่บนกระดาษ จากนั้นนำอีกด้านหนึ่งซึ่งมีสารยึดติดอยู่ วางบนวัสดุที่ต้องการแล้วกดเพื่อให้เกิดการยึดติดแลัวจึงลอกกระดาษอีกด้านหนึ่งออกเพื่อประกบกับวัสดุอีกชิ้นหนึ่ง บางทีเรียกสารยึดติดชนิดนี้ว่า เทปกาวสองหน้า
2.1 การเกิดพอลิเมอร์ การแข็งตัวของสารยึดติดโดยการเกิดพอลิเมอไรเซชัน เป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพอลิเมอร์เพื่อให้เกิดการยึดติดด้วยการเชื่อมโยงระหว่างโซ่ของพอลิเมอร์จนเกิดเป็นโครงสร้าง 3 มิติ หรือร่างแห ให้การยึดติดที่แข็งแรง สารยึดติดที่แข็งตัวด้วยวิธีนี้เป็นเรซินหรือตัวยึดประเภทเทอร์โมเซต ซึ่งมีสมบัติสำคัญเฉพาะตัวทางเคมี สามารถก่อให้เกิดการเชื่องโยงได้ เมื่อสารยึดติดเกิดการแข็งตัวแล้วจะไม่สามารถหลอมเหลวละลายได้ง่ายด้วยความร้อนหรือนำกลับมายึดติดใหม่ได้ สารยึดติดที่สามารถแข็งตัวโดยการเกิดพอลิเมอร์ ได้แก่ อะคริลิกที่มีอีพอกซีผสมอยู่
โดยปกติปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์สำหรับสารยึดติดเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน ดังนั้นแนวสารยึดติด( adhesive line ) จะอุ่นกว่าบริเวณอื่น การเกิดปฏิกิริยานี้มีข้อดีกว่าการแห้งหรือแข็งตัวของสารยึดติดโดยวิธีปล่อยตัวพา คือ ความแข็งแรงของพันธะยึดติดที่แนวสารยึดติดจะแข็งแรงกว่า
2.2 การปล่อยตัวพา การแห้งหรือแข็งตัวโดยการปล่อยตัวพาเป็นการแห้งหรือแข็งตัวของสารยึดติดฐานตัวทำลายหรือฐานน้ำ ที่มีการใช้ตัวทำละลายและน้ำเป็นตัวพาเพื่อช่วยปรับความหนืดของสารยึดติดให้ได้การเปียกที่เหมาะสม ทำให้สารยึดติดสามารถแผ่ได้ทั่วบนผิวหน้าวัสดุที่ต้องการยึดติด หลังจากการใช้สารยึดติดแล้วจำเป็นที่จะต้องปล่อยตัวทำละลายหรือตัวพาออกไป เพื่อช่วยให้สารยึดติดเปลี่ยนสภาพเป็นของแข็งบนผิวหน้าของวัสดุที่ต้องการยึดติด ซึ่งการปล่อยสามารถทำได้โดยการดูดซึมตัวพาหรือระเหยไล่ตัวพาออกไป
2.3 การปล่อยให้เย็นลง การแห้งหรือแข็งตัวของสารยึดติดด้วยการปล่อยให้สารยึดติดเย็นลงแล้วสารยึดติดจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง สารยึดติดที่ใช้วิธีการนี้เป็นพอลิเมอร์ชนิดเทอร์โมพลาสติก ขณะใช้งานเทอร์โมพลาสติกจะอ่อนตัวหรือหลอมตัวด้วยความร้อนแล้วทาไปบนวัสดุที่ต้องการยึดติด จากนั้นประกบวัสดุที่ต้องการยึดติดเข้าด้วยกันและปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นลง สารยึดติดจะเหนียวและกลายเป็นชั้นที่แข็งตัวระหว่างวัสดุที่ต้องการยึดติด สารยึดติดที่ใช้วิธีนี้ คือ สารยึดติดฮอทเมลท์ ความร้อนที่ใช้จะต้องมากพอที่ทำให้เทอร์โมพลาสติกหลอมและไหลได้ทั่วบนผิววัสดุที่ต้องการยึดติด
2.4 การใช้แรงกด วิธีนี้ไม่เชิงเป็นการแห้งหรือแข็งตัวของสารยึดติด แต่เป็นการใช้แรงกดช่วยให้เกิดการยึดติด สารยึดติดที่ใช้จะไวต่อแรงกด( pressure-sensitive adhesive ) มีความเหนียวหนืดที่ถาวรซึ่งเป็นลักษณะที่เมื่อแยกสารยึดติดที่หลังจากยึดติดแล้ว สารยึดติดยังคงสภาพเหนียวหนืดอยู่ สารยึดติดชนิดนี้เวลาใช้งานไม่ต้องปรับสภาพความหนืดให้ต่ำ และเนื่องจากมีความเหนียวหนืดที่ถาวร สารยึดติดจึงต้องได้รับการป้องการยึดติดที่อาจเกิดขึ้นก่อนการนำมาใช้งานด้วยกระดาษชนิดที่ไม่ทำปฏิกิริยาหรือยึดติดกับสารยึดติดที่เรียกว่า รีลีสซิ่งเพเพอร์( releasing paper ) เมื่อใช้งานจะต้องลอกกระดาษนี้ออก กระดาษชนิดนี้จะไม่มีร่องรอยของสารยึดติดตกค้างอยู่บนกระดาษ จากนั้นนำอีกด้านหนึ่งซึ่งมีสารยึดติดอยู่ วางบนวัสดุที่ต้องการแล้วกดเพื่อให้เกิดการยึดติดแลัวจึงลอกกระดาษอีกด้านหนึ่งออกเพื่อประกบกับวัสดุอีกชิ้นหนึ่ง บางทีเรียกสารยึดติดชนิดนี้ว่า เทปกาวสองหน้า