Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวพิมพ์

     ตัวพิมพ์มีการพัฒนารูปลักษณ์มาจากเค้าโครงตัวเขียนของภาษาต่างๆ ดังเช่นในกรณ๊ตัวพิมพ์ไทยตัวพิมพ์แบบแรกๆ ที่ใช้พิมพ์หนังสือในประเทศไทย คือ "บรัดเลย์เหลี่ยม" หรือตัวพิมพ์ที่ใช้ในหนังสือพิมพ์"บางกอกรีคอร์เดอร์" นั้น  สันนิษฐานว่ามีเค้าโครงมาจากลายมือแบบอาลักษณ์  ที่พบปรากฎตามเอกสารในยุคต้นรัตนโกสินทร์ตัวพิมพ์ในรุ่นต่อมาได้พัฒนาลักษณะโครงสร้างส่วนประกอบให้เหมาะสมกับเทคนิคการพิมพ์  คือ การแยกช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว  มีลำตัวตั้งตรง  แทนเส้นเอน  และมีความต่อเนื่องดังที่มักปรากฏในตัวเขียนอันเนื่องมาจากความถนัดในการใช้มือ

ตัวพิมพ์แบบ"บรัดเลย์เหลี่ยม" ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์

หลังจากได้สร้างประวัติศาสตร์การผ่าตัดไว้ให้ไทยแล้ว นพ.แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารีอเมริกัน ก็ได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ที่บ้านพักหลังป้อมวิชัยประสิทธิ์ โดยซื้อแท่นพิมพ์ต่อจาก ร.ท.โลว์ นายทหารอังกฤษ ผู้เข้ามาศึกษาภาษาไทยอยู่หลายปี และประดิษฐ์แม่พิมพ์ตัวอักษรไทยขึ้น พิมพ์เป็นตำราเรียนภาษาไทยที่สิงคโปร์ เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการและพ่อค้าชาวอังกฤษที่จะมาติดต่อกับเมืองไทย

เมื่อตั้งโรงพิมพ์ขึ้นแล้ว หมอบรัดเลย์ก็พิมพ์หนังสือสำหรับเผยแพร่ศาสนา และรับงานพิมพ์ทั่วไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ก็ทรงให้พิมพ์ใบปลิวห้ามการสูบฝิ่น จำนวน ๙,ooo ฉบับ แจกจ่ายราษฎรนับเป็นเอกสารทางการฉบับแรกที่ใช้การพิมพ์ และ ยังพิมพ์ปฏิทินไทยเป็นครั้งแรก กับพิมพ์ตำราปืนใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

ต่อมาหมอบรัดเลย์เห็นว่า ชาวต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยจำนวนมาก อยากจะรู้ข่าวสารบ้านเมืองบ้าง จึงได้ปรึกษาคณะมิชชันนารี ออกเป็นหนังสือข่าวขึ้น ให้ชื่อว่า The Bangkok Recorder มีทั้งฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการได้อ่านด้วย โดยออกฉบับปฐมฤกษ์ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๙๘ เป็นรายปักษ์ทำให้ไทยมีหนังสือพิมพ์ก่อนประเทศญี่ ปุ่นถึง ๑๗ ปี หมอบรัดเลย์เรียกหนังสือพิมพ์ของเขาว่า “จดหมายเหตุ” บ้าง “นิวสะเปเปอ” บ้าง และ “หนังสือพิมพ์” บ้าง ต่อมาคำว่า “หนังสือพิมพ์” ได้รับการยอมรับจนใช้มาถึงวันนี้

เนื้อหามีการนำเสนอเป็นรายงานข่าวและบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น จุดประสงค์ก็เพื่อเน้นให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และพยายามชี้ให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์มีคุณค่าต่อประชาชน เป็นแสงสว่างของบ้านเมือง คนชั่วเท่านั้นที่กลัวหนังสือพิมพ์ เพราะหนังสือพิมพ์จะประจานความชั่วของเขา

“บางกอกรีคอร์เดอร์” ออกไปถึงปีก็หยุดกิจการ เพราะสังคมชั้นสูงไทยรับไม่ได้กับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุน แต่บางครั้งเอาไปรวมกับฉบับภาษาอังกฤษจนในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ “บางกอกรีคอร์เดอร์ ” ก็ออกใหม่อีกครั้งเสนอทั้งข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ บทความ และจดหมายจากผู้อ่าน ครั้งนี้ออกอยู่ได้ ๒ ปีก็เกิดเรื้องอีก

สาเหตุมาจากการปักปันเขตแดนสยามกับอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน ฝรั่งเศสซึ่งเล่นบทหมาป่ากับลูกแกะพยายามเอาเปรียบทุกทาง แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหกลาโหม ไม่ยอมอ่อนข้อให้ ม.กาเบรียล ออบาเรต์ กงสุลฝรั่งเศสขุ่นเคือง จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ให้ปลดเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ออกจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน แต่ รัชกาลที่ ๔ ไม่โปรดตามคำทูล ม.ออบาเรต์ จึงทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรไปยื่นดักรออยู่หน้าวัง ยื่นถวายพร้อมกับคำขู่ว่า ถ้าไม่ทำตามประสงค์ของเขา สัมพันธไมตรีระหว่างไทย กับฝรั่งเศสจะต้องขาดสะบั้น เกิดสงครามขึ้นเป็นแน่ พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ตรัสตอบแต่อย่างใด เสด็จเข้าวังไป

หมอบรัดเลย์เอาเรื่องนี้มาตีแผ่ใน “บางกอกรีคอร์เดอร์” ทั้งยังออกความเห็นด้วยว่า การกระทำของทูตฝรั่งเศสนี้ผิดวิธีการทูต และดักคอว่าการไม่ยอมปลดสมุหกลาโหม กงสุลฝรั่งเศสอาจพยายามแปลความเป็นว่า ในหลวงได้ทรงหยามเกียรติพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียน และอ้า งเอาเป็นเหตุทำสงครามกับสยามก็เป็นได้

การตีแผ่ของ “บางกอกรีคอร์เดอร์” ทำให้สงสุลฝรั่งเศสไม่กล้าแสดงอำนาจบาตรใหญ่กับคณะกรรมการปักปันเขตแดนต่อไป แต่หันไปฟ้องหมอบรัดเลย์ต่อศาลกงสุลในข้อหาหมิ่นประมาท

คดีนี้ทั้งคนไทยและฝรั่งในบางกอกต่างก็สนับสนุนหมอบรัดเลย์กงสุลอังกฤษเสนอเป็นทนายให้กงสุลอเมริกันเป็นผู้พิพากษา แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระราชประสงค์ที่จะไม่สร้างความขุ่นเคืองให้กงสุลฝรั่งเศสอีก จึงห้ามข้าราชการไทยที่รู้เห็นเหตุการณ์ไปเป็นพยานในศาล ผลจึงปรากฎว่าหมอบรัดเลย์แพ้คคี ถูกปรับเป็นเงิน ๔๐๐ เหรียญอเมริกันและให้ประกาศขอขมากงสุลฝรั่งเศสในบางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งคนไทย และชาวต่างประเทศได้เรี่ยไรกันออกค่าปรับให้ ส่วนเรื่องขอขมานั้น หมอบรัดเลย์ได้ตอบโต้ ม.ออบาเรต์อย่างสะใจโดยหยุดออกบางกอกรีคอร์เดอร์ เลยไม่รู้จะเอาหนังสือพิมพ์ที่ไหนขอขมา

เมื่อเรื่องราวสงบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้พระราชทานเงินให้หมอบรัดเลย์ ๒,๐๐๐ เหรียญเป็นค่ารักษาข้าราชสำนักฝ่ายใน “ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นค่าปลอบใจเรื่องนี้นั่นเอง.

กระแสงานของงานก่อนพิมพ์

         งานก่อนพิมพ์เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าข้อมูลเนื้อหาและภาพ    เพื่อจัดทำเป็นองค์ประกอบของหน้างานพิมพ์   และการดำเนินการต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แม่พิมพ์มีความถูกต้องและคุณภาพ  พร้อมที่จะนำข้อมูลไปสู่การพิมพ์ตามระบบการพิมพ์ต่างๆ  กระแสงานของงานพิมพ์ที่สำคัญๆ  ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. งานนำเข้าข้อมูล (INPUT) เพื่อนำข้อมูลไปสู่การทำงานก่อนพิมพ์ เป็นการนำเข้าข้อมูลเนื้อหาทั้งส่วนที่เป็นข้อความหรือตัวอักษรมาจัดเรียงตัวพิมพ์  และนำภาพต้นฉบับมาดำเนินการให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการจัดประกอบหน้าสิ่งพิมพ์  โดยอาจเป็นการกราดภาพจากต้นฉบับ  หรือการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัลได้เป็นไฟล์ภาพ  การทำงานอาศัยคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับการนำเข้าข้อมูลต่างๆ
  2. งานประมวลผลข้อมูล(PROCESS) เพื่อจัดทำข้อมูลงานก่อนพิมพ์ให้สำเร็จ  เป็นการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดรายละเอียดหน้างานพิมพ์  เช่น  ขนาดหน้างานพิมพ์  ระยะขอบหน้างานพิมพ์  จากนั้นทำการจัดวางตัวพิมพ์และลงภาพในตำแหน่งที่กำหนดไว้ให้มีความลงตัวและสวยงาม  รวมทั้งกำหนดองคืประกอบต่างๆ  ที่ตอ้งการให้ครบถ้วน  เช่น  สี  กรอบ  ลายเส้น  เป็นต้น
  3. งานส่งออกข้อมูล (OUTPUT) เพื่อทำการพิมพ์  เมื่องานในขั้นตอนการจัดประกอบหน้าสำเร็จลุล่วงและได้มีการตรวจสอบอย่างรอบครอบแล้ว  ก็จะส่งข้อมูลเพื่อจัดทำแม่พิมพ์หรืองานพิมพ์  โดยเกี่ยวข้องกับการวางหน้างานพิมพ์  การพรีไฟลต์  ทำปรู๊ฟสี  และการส่งออกข้อมูลงานวางหน้าเพื่อจัดทำแม่พิมพ์หรืองานตรวจสอบข้อมูลที่จะส่งออกเพื่อแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ดิจิทัล  ทั้งนี้งานดังกล่าวต้องสอดคล้องและเหมาะสมที่จะนำไปจัดทำแม่พิมพ์หรือพิมพ์ผลออกตามระบบการพิมพ์ที่จะใช้พิมพ์ในแต่ละงาน  การทำงานอาศัยคอมพิวเตอร์  โปรแกรมคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับการส่งออกข้อมูล  รวมทั้งเครื่องประเภทต่างๆ  ง
                  กระแสงานของงานก่อนพิมพ์ที่กล่าวข้างต้น  เป็นกระแสงานก่อนพิมพ์ในระบบการพิมพ์ดิจิทัลมากกว่างานก่อนพิมพ์ในระบบแอนะล็อก  และเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กัยอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

การเคลือบและการตกแต่งลวดลาย


  การเคลือบและการตกแต่งลวดลาย( glaze and decoration ) เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีสัน ลวดลายที่สวยงาม และทำให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย
  การตกแต่งลวดลายทำได้ 2 วิธี คือ การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ ( under giaze decoration ) และการตกแต่งลวดลายบนเคลือบ ( overglaze decoration )
  5.1 การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ หมายถึง การทำลวดลายต่างๆ ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การเขียนด้วยมือ การใช้ตรายางประทับบนผิว การใช้รูปลอกการพิมพ์ หลังจากทำการตกแต่งลวดลายแล้ว จึงทำการเคลือบทับ และนำไปเผาเคลือบต่อไป
  5.2 การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ หมายถึง การนำผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ผ่านการเคลือบและเผาเคลือบแล้วจึงนำมาตกแต่งลวดลาย เช่น การเขียน การใช้รูปลอก( transfer paper ) การพิมพ์ฉลุลายผ้า เพื่อทำให้ได้ลวดลายรูปแบบต้องการ แล้วจึงนำไปอบที่อุณหภูมิประมาณ 700-900 องศาเซลเซียส เพื่อให้สีหลอมละลายติดกับผิวเคลือบ การตกแต่งบนเคลือบจะให้สีที่สดใสกว่า แต่จะมีความคงทนน้อยกว่าการตกแต่งใต้เคลือบ
  การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ สามารถกระทำโดยนำผลิตภัณฑ์ดิบที่ผ่านการอบแห้ง งบประมาณ 100 องศาเซลเซียส มาผ่านการเคลือบ และเข้าสู่การพิมพ์ฉลุลายผ้าเลย โดยไม่ต้องมีการเผาหลังการเคลือบก่อน แต่จะเผาเคลือบหลังจากพิมพ์ฉลุลายผ้าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการเผาครั้งเดียว วิธีนี้นิยมใช้ในการผลิตกระเบื้องเซรามิก อุณหภูมิที่ใช้สำหรับการเผากระเบื้องประมาณ 1150 องศาเซลเซียส จะได้เป็นภาพพิมพ์บนกระเบื้องตามต้องการ
  สรุปได้ว่า การตกแต่งลวดลายบนผลิตภัณฑ์เซรามิก สามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ ก่อนการเคลือบ และหลังการเคลือบ
  ถ้าเป็นการตกแต่งลวดลายก่อนการเคลือบ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเคลือบแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนการเผาเคลือบ( glost firing ) อุณหภูมิการเผาเคลือบแล้วแต่ชนิดของน้ำยาเคลือบที่ใช้ แต่ถ้าเป็นการตกแต่งหลังเคลือบผลิตภัณฑ์ที่เคลือบแล้วจะผ่านการอบสีอีกครั้ง จากนั้นผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ได้จะนำมาตรวจสอบคูณภาพตามมาตรฐานกำหนดแล้วนำไปบรรจุหีบห่อ รอการจำหน่ายต่อไป เป็นการสิ้นสุดกระบวนการผลิต
   

การเตรียมน้ำยาเคลือบ


  ขั้นตอนในการเตรียมน้ำยาเคลือบ สามารถแบ่งเป็นขั้นๆ ได้ ดังนี้
  1) ชั่งส่วนผสมของวัตถุดิบต่างๆ ตามสูตร
  2) ใส่ส่วนผสมลงในหม้อบดซึ่งมีลูกบดอยู่ เติมน้ำลงไป การบดใช้เวลาประมาณ 8-14 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ความละเอียดตามที่ต้องการ
  3) กรองผ่านตะแกรงที่มีความละเอียดตามกำหนด
  4) ผ่านเครื่องดูดสารแม่เหล็กเพื่อแยกสารเหล็กออก ทำให้น้ำเคลือบปราศจากมลพิษ และมีสีตามต้องการ
  5) เก็บใส่ถุงน้ำยาเคลือบรอการใช้งานต่อไป
4. การเตรียมผลิตภํณฑ์ดิบก่อนเคลือบ
  หลังจากผลิตภัณฑ์ดิบมีการขึ้นรูปตกแต่งและแห้งแล้วโดยการตากแห้งตามธรรมชาติหรือเข้าอบก็ได้ ถ้านำผลิตภัณฑ์ดิบเข้าอบจะทำให้เนื้อผลิตภัณฑ์แห้งเร็วขึ้น แต่ต้องทำการควบคุมความร้อนให้พอเหมาะกับชนิดของเนื้อผลิตภัณฑ์ เนื่องจากแต่ละชนิดจะมีขนาดและความหนาต่างกัน การทำให้แห้งเร็วเกินไปจะทำให้ผลิตภัณฑ์แตกเสียได้ การนำเข้าเตาอบ ควรเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้าๆ จนอุณหภูมิ 110-120 องศาเซลเซียส
  ผลิตภัณฑ์ที่แห้งดีแล้ว บางชนิดจะเข้าสู่ขั้นตอนของการเผาดิบ ก่อนการเคลือบ จุดประสงค์ในการเผาดิบเพื่อให้เนื้อผลิตภัณฑ์เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทำให้มีความแข็งแกร่งขึ้น การเผาดิบจะทำการเผาที่อุณหภูมิประมาณ 800-1200 องศาเซลเซียส แล้วแต่ละชนิดของเนื้อผลิตภัณฑ์ หรือชนิดของน้ำยาเคลือบที่ใช้
  ก่อนชุบหรือฉาบน้ำยาเคลือบควรทำความสะอาดผิวผลิตภัณฑ์ดิบก่อน โดยการปัดหรือเป่าฝุ่นออก หรืออาจใช้ฟองน้ำชื้นๆ เช็ดผิว แล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการเคลือบต่อไป

เทคโนโลยีเกี่ยวกับตัวพิมพ์

1. ตัวพิมพ์เป็นรูปลักษณ์ของภาษาเขียนของชนชาติต่างๆ ตัวอักษรไทยและตัวอักษรโรมันมีลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบของแต่ละภาษาแตกต่างกัน แบบตัวพิมพ์มักได้รับการออกแบบเป็นชุดที่มีขนาดของเส้นและความลาดเอนต่างกัน  เพื่อให้สามารถตอบสนองการเลือกใช้งาน เรียกชุดตัวพิมพ์นี้ว่า  ครอบครัวตัวพิมพ์  ซึ่งแบ่งได้เป็นแบบตัวพิมพ์ธรรมดา  ตัวหนาตัว  ตัวบาง  ตัวเอน  เป็นต้น
2. การจัดกลุ่มตัวพิมพ์มีวิธีต่างๆกัน  เช่น  จัดกลุ่มตามพัฒนาการของตัวพิมพ์  ตามรูปลักษณ์และกรใช้งาน  เพื่อให้สามารถเลือกแบบตัวพิมพ์ ไปใช้ในงานออกแบบตามวัตถุประสงค์ต่างๆ
3. การจัดการแบบตัวพิมพ์เป็นการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวพิมพ์  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะหรือกลุ่งการทำงานด้วยกัน  คือ การจัดการตัวพิมพ์ในระดับซอฟแวร์ การจัดการตัวพิมพ์ของซอฟแวร์อรรถประโยชน์ด้านฟร้อน  และการจัดการแบบตัวพิมพ์ของซอฟแวร์ประยุกต์

ตัวพิมพ์หรือฟอนต์ (Font) ถือกำหนดขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีการพิมพ์มาอย่างช้านาน  ตั้งแต่ระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ ที่มีการประทับแม่พิมพ์ไม้ที่พิมพ์หมึกลงบนกระดาษโดยตรง  การหล่อโลหะเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์  การกัดกดแผ่นโลหะ การอาศัยความรู้เรื่องแสงและแผ่นฟิล์มเพื่อฉายแสงให้ทะลุผ่านไปทำปฏิกิริยาบนแม่พิมพ์  จนกระทั่งถึงการพิมพ์แบบดิจิทัล  ซึ่งเข้าถึงผู้คนในวงกว้างมากขึ้นอย่างในปัจจุบัน
ท่ามกลางการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์และรวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร  ตัวพิมพ์ยังทำหน้าที่ของมันอย่างคงเส้นคงวา  แต่ทว่าความอิสระที่ได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  ทำให้จำนวนผู้ใช้ตัวพิมพ์ขยายขอบเขตจากช่างเทคนิคและนักออกแบบไปยังกลุ่มบุคคลทั่วไป  กระทั่งนักเรียนชั้นประถมก็สามารถใช้ตัวพิมพ์เพื่อพิมพ์หน้าปกรายงานสวยๆได้อย่างน่าทึ่ง
การใช้ตัวพิมพ์จึงแตกต่างกันตามกลุ่มผู้ใช้งาน  ความรู้และความเข้าใจตัวพิมพ์  ทั้งตัวพิมพ์ไทยและตัวพิมพ์โรมัน  จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ทำงานออกแบบและการพิมพ์ระดับอาชีพ  เพื่อนำความรู้ความเข้าใจนี้ไปเลือกใช้ตัวพิมพ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และสอดคล้องกับความมุ่งหมายในการออกแบบหรือการพิมพ์งานนั้นๆในที่สุด

เทคโนโลยีเกี่ยวกับด้วยพิมพ์และเทคโนโลยีการจัดการข้อความ



  • ตัวพิมพ์ที่เป็นรูปลักษณะของภาษเขียนของชนชาติต่างๆ ตัวอักษรไทยและตัวอักษรโรมัน (ภาษาอังกฤษ) มีลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบแตกต่างกัน  แบบตัวพิมพ์มักถูกออกแบบเป็นชุดที่มีขนาดของเส้นหรือความลาดเอียงแตกต่างกัน  เพื่อให้สามารถตอบสนองการนำไปใช้งาน  ชุดครอบครัวตัดพิมพ์  แบ่งเป็นตัวธรรมดา  ตัวหนา  ตัวบาง  ตังเอน  สำหรับการจัดกลุ่มตัวพิมพ์วิธีการจัดการต่างๆกัน เช่น  แบ่งตามพัฒนาการของตัวพิมพ์ แบ่งตามรูปลักษณ์  และแบ่งตามการใช้งาน  ความรู้ในการจัดกลุ่มตัวพิมพ์นี้ จะในการเลือกแบบตัวพิมพ์ไปใช้ในงานได้ดี
  • เทคโนโลยีการจัดการข้อความเป็นเทคโนโลยีการนำข้อมูลตัวอักขระต่างๆ เข้าสู้ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบบรรณาธิกรให้เหมาะสมในงานเตรียมการก่อนพิมพ์หรืองานเตรียมการก่อนผลิตสื่อต่างๆ  ด้วยกรรมวิธีทางดิจิทัลหรืออิเลกทรอนิกส์  ส่วนแรกคือ  เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับนำตัวอักษรของเนื้อหาเข้าคอมพิวเตอร์ให้เป็นข้อมูลทางดิจิทัลด้วยวิธีต่างๆ  และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบรรณาธิกร  คือ  การแก้ไขปรับปรุงตัวอักษรและเน้อหาข้อความให้เหมาะสมตามที่ต้องการสำหรับการนำข้อความนั้นไปใช้งานต่อไป


วัตถุดิบที่ใช้ในการเคลือบ

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำยาเคลือบหรือใช้ในการเคลือบ แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ดังนี้
  2.1 สารที่ทำให้เกิดแก้ว( glass former ) คือ ซิลิก้า( silica )ที่มีสูตรทางเคมีว่า sio2 วัตถุดิบที่ใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดแก้ว คือ ให้ซิลิก้าในน้ำยาเคลือบที่นิยมใช้ เช่น ดินสูตร AI2O,2Sio2,2H2O) หินฟันมา ( K2O,AI2O3,6SIO2 ) ทรายแก้ว( SiO2 ) หินเขี้ยวหนุมาน ( quartz )
  2.2 สารช่วยหลอมละลาย เนื่องจากซิลิก้า มีจุดหลอมตัวที่อุณหภูมิประมาณ 1710 องศาเซสเซียส ซึ่งสูงเกินไปสำหรับการหลอมเพื่อเคลือบเซรามิก จึงจำเป็นต้องใช้สารช่วยลดจุดหลอมละลายที่มักเรียกกันโดยทั่วไปว่าฟลักซ์( fiuxes ) หรือสารช่วยหลอมละลาย วัตถุดิบที่ใช้เป็นฟลักซ์มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น ออกไซด์ของตะกั่ว( PbO) บอแร็กซ์ หินปูน ( CaCO3 ) หินฟันม้า ซึ่งมี 2 ชนิด ที่ใช้ คือ โซดาเฟลสปาร์( Na2O.AI2O3.6Sio2 ) และโพแทสเฟลสปาร์ (K2O.AI2O3.6SIO2 )
  2.3 สารเติมแต่ง ( additives ) เป็นสารที่เพิ่มเข้าไปในส่วนผสมน้ำยาเคลือบ เพื่อปรับปรุงเคลือบให้ได้ลักษณะหรือสมบัติตามต้องการ สารเติมแต่งที่ใช้มีดังนี้
1) สารปรับค่าความหนืด เป็นสารที่ช่วยทำให้เกิดการยึดเกาะในระหว่างการเผา น้ำยาเคลือบที่หลอมละลายจะต้องการวัตถุดิบที่มีสมบัติให้เคลือบมีความต้านทานการไหลหรือแข็งติดบนชิ้นงานไหลไปหมด เช่น สารอะลูมินา( AI ) หรือ อะลูมินาออกไซด์ ( AI2O3 ) จะมีสมบัติช่วยปรับการไหลตัวของน้ำยาเคลือบ โดยทั่วไปในน้ำยาเคลือบจะใช้ ดิน หินฟันม้า เป็นวัตถุดิบที่ให้สารอะลูมินา
2) สารที่ช่วยทำให้ทีบแสง เมื่อใส่สารที่ช่วยทำให้ทึบแสง เช่น ออกไซด์ของดีบุก ( Sno2 ) เซอร์โคเนียมออกไซด์ ( ZrO2 ) ไททาเนียมไดออกไซด์ ( TiO2 )ลงในน้ำยาเคลือบ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบลดความใสโปร่งแสงลง เป็นเคลือบทึบ ซึ่งจะบังผิวเนื้ผลิตภัณฑ์ ทำให้ไม่เห็นสีของเนื้อผลิตภัณฑ์
3) สารที่ช่วยทำให้ผิวด้าน คือ สารที่จะไปลดความมันของน้ำยาเคลือบลง ทำให้ผิวของผลิตภัณฑ์ที่เคลือบมีลักษณะด้าน สารที่ใช้เช่น แบเรียนคาร์บอเนต( BaCO3 ) นอกจากนี้การใช้อะลูมินาในประมาณมาก ก็จะทำให้เกิดเคลือบด้านด้วย
4) สารให้สี คือ สารที่ใส่ไปในน้ำยาเคลือบ เมื่อเผาเคลือบแล้ว จะเกิดเป็นสารเคลือบสีต่างๆ ดังได้กล่าวไว้แล้ว
  การจัดกลุ่มวัตถุดิบข้างต้นเป็นแนวทางทื่นายสตาฟฟอร์ด( Eugene C.Stafford ) เขียนไว้ในหนังสือโมเดิร์นอินดัสเทรลเซรามิกส์( modern industrial ceramics ) ซึ่งจะเป็นวิธีจัดกลุ่มวัตถุดิบที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นอีกในการจัดแบ่งกลุ่ม คือ ตามสมบัติความเป็นกรด-ด่าง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยม และใช้ในการคำนวณส่วนผสมน้ำยาเคลือบวัตถุดิบจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นด่าง กลุ่มที่เป็นกลาง และกลุ่มที่เป็นกรด
  1) กลุ่มที่เป็นด่าง ( bases ) มีสัญลักษณ์ RO หรือ R2O เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ เช่น ตะกั่วออกไซด์ ( PbO ) โซเดียมออกไซด์ ( Na2O ) สมบัติของวัตถุดิบในกลุ่มด่าง คือ ช่วยลดจุดหลอมตัวของเคลือบ
  2) กลุ่มที่เป็นกลาง ( intermediates ) มีสัญลักษณ์ R2O3 เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ โดยทั่วไปกลุ่มที่เป็นกลางจะหมายถึง อะลูมินา ( AI2O3 )เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอะลูมินามีสมบัติเป็นตัวควบคุมการไหลตัวของน้ำยาเคลือบ นอกจากนี้ยังมีออกไซด์ที่มีสัญลักษณ์ในกลุ่มนี้ตัวอื่นๆ เช่น บอริกออกไซด์ ( B2O3 ) ซึ่งสมบัติเพิ่มความแข็งให้เคลือบลดการขยายตัวเมื่อร้อน
  3) กลุ่มที่เป็นกรด ( acids ) มีสัญลักษณ์ RO2 เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ เช่น ซิลิก้า ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดแก้วดีบุกออกไซด์ ( SnO2 ) เป็นตัวทำให้เคลือบทึบแสง

การเคลือบผลิตภัณฑ์

การเคลือบเซรามิกเป็นการนำน้ำยาเคลือบที่ผสมตามสูตรแล้ว เคลือบบนผิวของเนื้อผลิตภัณฑ์ เทคนิคการเคลือบทำได้หลายวิธี เช่น การจุ่มผลิตภัณฑ์ดินลงในถังน้ำยาเคลือบหรือการพ่นน้ำยาเคลือบหรือการราดด้วยน้ำยาเคลือบ จากนั้นปล่อยให้เย็นลงจะเกิดเป็นลักษณะเหมือนแก้วติดบนผิวผลิตภัณฑ์นี้ ชั้นของสารที่เคลือบอยู่บนเซรามิกเป็นชั้นของเนื้อแก้วบางๆ ที่เกิดจากส่วนผสมของซิลิก้ากับสารที่ช่วยให้เกิดการหลอมละลายสารเคลือบที่ได้จะมีสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีเหมือนกัน สมบัติทางฟิสิกส์ คือมีความแข็ง ทนทานต่อการขัดสีเป็นฉนวนไฟฟ้า สมบัติทางเคมี คือ ไม่ละลายหรือละลายในสารเคมีได้น้อยมาก ยกเว้น กรดแก้วหรือกรดไฮโดรฟลูออริก(HF)และด่างแก่ นอกจากนี้ยังช่วยให้ความสะอาดได้สะดวกและให้ความสวยงามอีกด้วย
1. ชนิดของน้ำยาเคลือบ
  การจำแนกชนิดของน้ำยาเคลือบ สามารถจำแนกได้หลายรูปแบบ ขึ้นกับว่าจะพิจารณาสิ่งใดเป็นหลักในการจำแนก
  อาจจำแนกน้ำยาเคลือบได้ตามอุณหภูมิการเผาเคลือบหรือตามส่วนผสมของน้ำยาเคลือบหรือตามลักษณะที่ได้หลังการเผา หรือตามกรรมวิธีการเตรียม อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นน้ำยาเคลือบชนิดใด จะต้องมีซิลิก้าเป็นองค์ประกอบหลักเสมอ
1.1 น้ำยาเคลือบตามอุณหภูมิของการเผาเคลือบ สามารถแบ่งได้ดังนี้
  1) น้ำยาเคลือบไฟต่ำ ( low temperature glaze ) น้ำยาเคลือบชนิดนี้มีอุณหภูมิเหมาะกับเซรามิกสำหรับการเผาอยู่ระหว่าง 700-900 องศาเซลเซียส
  2) น้ำยาเคลือบไฟกลาง( medium temperature glaze ) น้ำยาเคลือบชนิดนี้มีอุณหภูมิการเผาเคลือบอยู่ระหว่าง 900-1450 องศาเซลเซียส
1.2 น้ำยาเคลือบตามส่วนผสม สามารถแบ่งได้ดังนี้
  1) น้ำยาเคลือบตะกั่ว( lead glaze ) คือ น้ำยาเคลือบที่มีตะกั่วเป็นส่วนผสม สมบัติของตะกั่วจะเป็นสารที่ช่วยลดจุดหลอมละลายของน้ำยาเคลือบ ตะกั่วที่ใช้อยู่ในรูปสารประกอบของตะกั่ว เช่น ออกไซด์ของตะกั่วคาร์บอเนตของตะกั่ว ตัวอย่างเช่น ตะกั่วแดง( Pb3O4) ตะกั่วขาว( 2PbCO3,Pb( OH2))
  2) น้ำยาเคลือบไม่มีตะกั่ว( leadless glaze ) คือ น้ำยาเคลือบที่ไม่ใส่ตะกั่ว แต่จะมีสารตัวอื่นเป็นตัวช่วยลดจุดหลอมละลายของน้ำยาเคลือบ เช่น หินฟันม้า บอแร็กซ์
1,3 น้ำยาเคลือบตามลักษณะที่ได้หลังการเผา น้ำยาเคลือบชนิดนี้จำแนกตามลักษณะของเคลือบที่ปรากฎให้เห็นหลังการเผา ซึ่งสามารถจำแนกออกได้หลายชนิดด้วยกัน ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างบางชนิด ดังนี้
  1) น้ำยาเคลือบใส( Clear glaze ) คือ น้ำยาเคลือบซึ่งให้เคลือบผลิตภัณฑ์ดินหรือเนื้อ ผลิตภัณฑ์ที่ปั้นและเผาแล้วมีลักษณะใสเหมือนแก้ว สามารถมองเห็นสีของเนื้อผลิตภัณฑ์ใต้เคลือบ
  2) น้ำยาเคลือบด้าน( opaque glaye ) คือ น้ำยาเคลือบซึงเมื่อเคลือบผลิตภัณฑ์ดินแล้วหลังเผาผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีแสงส่องผ่านได้น้อย หรือไม่ผ่านเลย เคลือบจะช่วยปิดบังผิวของเนื้อผลิตภัณฑ์ เนื่องจากน้ำยาเคลือบชนิดนี้มีสารทำให้เกิดความเคลือบทึบผสมอยู่ เช่น เซอร์โคเนียมซิลิเกต( ZrSio4)ออกไซด์ของดีบุก(SnO2)
  3) น้ำยาเคลือบด้าน( matt glaze )คือ น้ำยาเคลือบซึ่งเมื่อเคลือบผลิตภัณฑ์ดินแล้วหลังเผาแล้วผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีลักษณะผิวด้าน เนื่องจากเกิดผลึกเล็กๆที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอยู่ผิวเคลือบ เช่น การเติมสารประเภทออกไซด์ของสังกะสี(ZnO)หินปูน( Cao) หรือเคลือบด้านที่เกิดจากการเติมวัสดุทนไฟ เช่น อะลูมินา(AI2O3)
  4) น้ำยาเคลือบผลึก( crystalline glaze ) คือ น้ำยาเคลือบซึ่งเมื่อเคลือบผลิตภัณฑ์ดินและเผาแล้วผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีผลึกขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตา รูปผลึกอาจเป็นรูปพัด รูปเข็ม หรือเป็นดอก เนื่องจากการตกผลึกของน้ำยาเคลือบระหว่างที่มีความหนืดต่ำ ขณะที่ถูกเผา ณ อุณหภูมิสูง และเมื่อทำให้สารเคลือบเย็นตัวลงช้าๆอย่างเหมาะสมแล้ว จะเกิดเป็นผลึกขนาดใหญ่ขึ้น  เช่น ผลึกที่เกิดจากการใช้ออกไซด์ของสังกะสี(Zno )
  5) น้ำยาเคลือบสี( colored glaze ) คือ น้ำยาเคลือบซึ่งเมื่อเคลือบผลิตภัณฑ์ดินและเผาแล้วผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีสีต่างๆเกิดจากการใส่สารที่ให้สีประเภทออกไซด์ของธาตุที่ทำให้เกิดสี( coloring oxide ) หรือ ผงสีเซรามิกสำเร็จรูปที่เรียกว่าสเตน( stain ) ลงในส่วนผสมน้ำยาเคลือบ
  สีของสารเคลือบซึ่งเกิดจากสารให้สีที่ผสมลงในน้ำยาเคลือบจากสารให้สีตามนั้นจะเห็นว่าออกไซด์บางตัวสามารถเกิดสีได้มากกว่าหนึ่งสี เช่น คอปเปอร์ออกไซด์ สามารถให้สีแดงหรือสีเขียวได้ ทั้งนี้เนื่องจากบรรยากาศในการเผาต่างกัน การเผาเพื่อให้เกิดสีแดง บรรยากาศในการเตาเผาจะต้องเป็นแบบสันดาบไม่สมบูรณ์ ส่วนสีเขียวเกิดจากบรรยากาศการเผาแบบสมบูรณ์ นอกจากสีเคลือบจะขึ้นอยู่กับสภาพการเผาแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่นส่วนผสมของน้ำยาเคลือบ อุณหภูมิการเผาปริมาณสารให้สีที่ใช้และอาจใช้ออกไซด์ที่ให้สีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปผสมกัน เพื่อให้เกิดสีต่างๆได้ หลายสี อีกด้วย
  ในอุตสาหกรรม นิยมใช้สีสำเร็จรูปหรือสเตนแทนออกไซด์ที่ให้สี เนื่องจากเป็นสีที่มีมาตรฐานให้สีคงที่สามารถให้สีต่างๆ หลากหลาย เช่น สีแดง ชมพู่ ส้ม เทา ดำ
1.4 น้ำยาเคลือบตามกรรมวิธีการเตรียม สามารถแบ่งได้ดังนี้
  1) น้ำยาเคลือบดิบ( raw glaze ) คือ น้ำยาเคลือบที่ได้จากการนำวัตถุดิบต่างๆ มาชั่งตามสูตร ใส่น้ำบดในหม้อบดจนละเอียดแล้วนำไปกรองและเก็บไว้ใช้งานต่อไป
  2) น้ำยาเคลือบฟริต( fritted glaze ) คือ น้ำยาเคลือบที่มีส่วนผสมบางตัวสามารถละลายได้ เช่น บอแร็กซ์หรือมีสารที่เป็นพิษ ได้แก่ สารตะกั่ว สารเหล่านี้จะถูกนำมาหลอมเป็นแก้วที่เรียกว่า ฟริต(frit )ซึ่งจะไม่ละลายน้ำและไม่เป็นพิษ ส่วนผสมของเคลือบจึงประกอบด้วยฟริตและวัตถุดิบอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกหลอม นำมาบดผสมกันเป็นน้ำยาเคลือบต่อไป
  นอกจากการจำแนกตามวิธีต่างๆข้างต้นแล้ว ยังมีแบบอื่นๆอีก เช่น การจำแนกตามชื่อของวัตถุดิบ หรือสารเคมีที่ใช้ผสมในน้ำยาเคลือบ เช่น น้ำยาเคลือบหินฟันม้า น้ำยาเคลือบหินปูน หรือน้ำยาเคลือบดีบุก

การเตรียมเซรามิกเพื่อการพิมพ์

  การเตรียมเซรามิกเพื่อพิมพ์จะผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามกระบวนการผลิตเซรามิก โดยทั่วไปกระบวนการผลิตสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอน ดังนี้
1. การเตรียมส่วนผสมของเนื้อผลิตภัณฑ์( body preparation )
2. การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์( forming)
3. การอบแห้ง( drying )
4. การเผาดิบ( bisque firing )
5. การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ( underglaze decoration )
6.การเคลือบ( glazing )
7.การเผาเคลือบ( glost  firiin )
8.การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ( overglaze decoration )
9.การอบสี( decorating fire )
10.การตรวจสอบคุณภาพ ( inspection )
  การเตรียมเนื้อผลิตภัณฑ์ เป็นการนำวัตถุดิบต่างๆ เช่น ดินขาว ดินเหนียว หินฟันม้า ทรายแก้ว ผสมกับน้ำบดให้ได้ความละเอียดตามต้องการ ผ่านตะแกรงกรองเข้าเครื่องแยกสารเหล็ก จากนั้นเข้าสู่บ่อพัก สารที่ได้เรียกว่า น้ำดิน น้ำดินที่ได้ในขั้นนี้สามารถนำไปใช้ในการขึ้นรูปโดยวิธีการหล่อแบบในขั้นตอนต่อไปได้ หรือนำน้ำดินเข้าเครื่องอัดไล่น้ำออกจากดิน ได้ดินออกมาเป็นแผ่น และเข้าเครื่องนวดจะได้ดินที่มีความเหนียวเหมาะกับการขึ้นรูป บางวิธีนำน้ำดินเข้าเครื่องพ่นให้เป็นเม็ดฝุ่น( spray dryer ) ซึ่งนิยมใช้ในการทำกระเบื้องโดยจะนำเม็ดฝุ่นเข้าเครื่องอัดเป็นแผ่นในการขั้นการขึ้นรูป ส่วนผสมของวัตถุดิบต่างๆที่ผ่านกรรมวิธีต่างๆ ข้างต้นจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันนั้น โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า เนื้อดินปั้นหรือเนื้อผลิตภัณฑ์( body )ซึ่งจะถูกนำเข้าสู่ขั้นตอนการขึ้นรูปต่อไป
  การขึ้นรูป คือ การนำผลิตภัณฑ์มาปั้นให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามตามต้องการ การขึ้นรูปมีหลายวิธีเช่น การขึ้นรูปด้วยมือ การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน การหล่อแบบ และการอัด
  การอบแห้ง นั้นจะกระทำหลังจากการขึ้นรูปแล้ว จะมีการตกแต่งให้มีความเรียบร้อย เช่น ลบรอยตะเข็บ ส่วนเกินออก หรือมีการแกะลวดลายลงในผลิตภัณฑ์ดิบ จากนั้นจะนำไปผึ่งให้แห้งหรือนำเข้าเตาอบ เพื่อไล่ความชิ้นออกไปก่อนเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป
  การเผาดิบ เป็นขั้นตอนที่ต่อจากการอบแห้ง ผลิตภัณฑ์เซรามิกบางประเภท หรือผลิตภัณฑ์ดิบบางชนิดจะผ่านขั้นตอนการเผาดิบก่อนการเคลือบ เนื่องจากการเผาดิบจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดิบมีความแข็งแกร่งขึ้นกว่าเนื้อผลิตภัณฑ์หรือดินปั้น ทำให้ลดปริมาณการสูญเสียลงจากการแตกเสียหายเวลานำไปเคลือบ และการเผาดิบจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดินที่ได้มีความพรุนตัวดีจึงสามารถดูดซึมน้ำยาเคลือบได้ดีขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์โอ่งราชบุรี จะไม่นำไปเผาดิบ แต่จะนำไปอบให้แห้งหรือถ้าไม่เข้าอบก็จะต้องทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานเพื่อให้เนื้อผลิตภัณฑ์แห้งสนิทจึงนำไปเคลือบได้
  การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ เป็นการตกแต่งให้เกิดสีลวดลายต่างๆโดยการเขียนด้วยมือ ใช้รูปลอกการพิมพ์ การตกแต่งลวดลายนี้จะทำก่อนการเคลือบ จึงเรียกว่า การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ
  การเคลือบ เป็นการนำน้ำยาเคลือบที่ผสมตามสูตรแล้วเคลือบบนผิวของเนื้อผลิตภํณฑ์ เทคนิคการเคลือบทำได้หลายวิธี เช่น การจุ่มผลิตภัณฑ์ลงในถังน้ำยาเคลือบ การพ่นเคลือบ การเทราด แล้วแต่ความต้องการและความเหมาะสมกับรูปแบบผลิตภัณฑ์
  การเผาเคลือบจะกระทำหลังจากผ่านขั้นตอนการเคลือบแล้ว ผลิตภัณฑ์จะถูกลำเลียงเข้าสู่เตาเผา เพื่อเผาเคลือบ อุณหภูมิการเผาเคลือบจะแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของน้ำยาเคลือบที่ใช้
  การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ ผลิตภัณฑ์บางชนิดต้องการลวดลายต่างๆบนเคลือบอีกชั้น หรือต้องการมีสีสันสดใสต่างๆเช่น ผลิตภัณฑ์เบญจรงค์ จะมีสีหลายสีและเป็นลวดลสายต่างๆ สวยงาม เกิดจากการเขียนลวดลายด้วยสีเซรามิกตามแบบที่ต้องการ ผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น ถ้วย จาน อาจจะมีการพิมพ์ลาย ติดรูปลอกหรือเขียนด้วยมือ บนผิวเคลือบอีกครั้ง
  การตรวจสอบคุณภาพ ในการผลิตควรมีการตรวจสอบคุณภาพในแต่ละขั้นของกระบวนการผลิต และหลังจากเสร็จสิ้นกรรมวิธีการผลิตแล้ว ก่อนนำไปบรรจุหีบห่อ และส่งขายต่อไปนั้น ควรจะมีการตรวจสอบคุณภาพอีกครั้งก่อน เช่น ตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ มีการตรวจสอบคุณภาพอีกครั้งก่อน เช่น ตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ มีการตรวจสอบการทำงาน การชำระล้าง การรั่วซึม ถ้าเป็นกระเบื้องควรมีการตรวจสอบขนาดด้วย การบิดเบี้ยว การดูดซึมน้ำ การทนทานต่อสารเคมี ความแข็งแกร่ง
  การอบสี หลังจากตกแต่งลวดลายบนเคลือบแล้วจะนำผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ได้เข้าอบอีกครั้งที่อุณหภูมิ700-1200 องศาเซสเซียส อุณหภูมิการอบสีแล้วแต่ชนิดของสีที่ใช้ เพื่อให้สีหลอมละลายติดกับผิวเคลือบ หรือสุกตัวอยู่ในเคลือบ

เซรามิกแบบใหม่

ตั้งแต่ปีค.ศ 1940 มาจนปัจจุบัน วิทยาการด้านวัสดุมีการค้นคว้าและพัฒนาอย่างมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอวกาศ นิวเคลียร์ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการพัฒนาวัสดุใหม่ๆขึ้น มีการศึกษาวิจัยและนำเซรามิกไปใช้ในงานเหล่านี้ จึงเกิดเซรามิกชนิดใหม่ชนิดใหม่ขึ้น เรียกกันว่า เซรามิกแบบใหม่( new ceramics )หรือเนื้อละเอียด( fine ceramics )หรือเซรามิกแบบเทคโนโลยีขั้นสูง( high-technology ceramics )เซรามิกชนิดนี้มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างสูง มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นผลิตเซรามิกแบบใหม่เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปขายต่างประเทศ จึงมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก

  เซรามิกแบบใหม่ ผลิตจากสารที่มีความบริสุทธิ์ ซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์แร่หรือวัตถุดิบจากธรรมชาติภายใต้การควบคุมพิเศษด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ให้ได้สารที่มีคุณภาพและสมบัติพิเศษตามต้งการ นำสารบริสุทธิ์ที่มีอนุภาคเล็กมากมาขึ้นรูปโดยวิธีใช้แรงดันอัด และเผาที่อุณหภูมิสูง ให้เกิดการรวมตัวของอนุภาคได้เนื้อละเอียดและแข็ง กระบวนการผลิตทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสูงเพื่อให้ได้เซรามิกที่มีคุณภาพเฉพาะนั้นๆ
  เซรามิกแบบใหม่ มีอยู่หลายชนิดในปัจจุบัน และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมีความตื่นตัวและพยายามพัฒนาวัสดุเซรามิกชนิดต่างๆ ขึ้นอีกในอนาคต เนื่องจากเซรามิกจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโยีทั้งทางด้านอวกาศ คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เช่น การใช้เคเบิลใยแก้วในการสื่อสาร ทำให้ปัจจุบันการสื่อสารสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก เรียกกันว่า เป็นยุคของข่าวสารไร้พรมแดนขึ้น การค้นพบตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด หรือซุปเปอร์คอนดักเตอร์อุณหภูมิสูง( high-temperperature supercon-ductor) ซึ่งทำจากสารเซรามิกมีสภาพการนำไฟฟ้าได้โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถปล่อยสนามแม่เหล็กพลังมหาศาลออกมาได้ หากสามารถนำประยุกต์ใช้งานได้จะเกิดประโยชน์มหาศาล เช่น ใช้ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าปัจจุบันมาก ใช้ในอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆของการแพทย์ทางอวกาศ พัฒนารถไฟเหาะ แม่เหล็ก ตลอดจนใช้ในปฎิกริยานิวเคลืยร์ การใช้งานของเซรามิกแบบใหม่สามารถสรุปได้
  ชนิดของเซรามิกแบบใหม่ สามารถจัดแบ่งได้โดยอาศัยการแบ่งตามลักษณะการทำงานตามตารางข้างต้นนอกจากนี้ยังมีการแบ่งชนิดของเซรามิกแบบใหม่ตามประเภทของสารประกอบ เช่น ออกไซด์ ไนไตรล์  คาร์ไบด์ บอไรด์ ฟลูออไรด์และซัลไฟด์
  เซรามิกแบบใหม่มีการใช้ในวงการพิมพ์บ้าง โดยส่วนใหญ่งานพิมพ์จะเป็นตัวเลขหรือข้อความ ไม่ค่อยมีการใช้พิมพ์ภาพสกรีนหรือภาพฮาล์ฟโทน

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์