Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

แบบมาตรฐานการพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทย


แบบมาตรฐานการพิมพ์หนังสือราชการของกองทัพเรือ
01-หนังสือภายนอก
คำแนะนำประกอบการพิมพ์หนังสือภายนอก
02-หนังสือภายใน(ใช้กระดาษบันทึกข้อความ)
คำแนะนำประกอบการพิมพ์หนังสือภายใน
03-หนังสือบันทึก
04-หนังสือประทับตรา
04.หนังสือประทับตรา(1 ย่อหน้า)
04.2-แบบหนังสือประทับตรา(3 ย่อหน้า)
คำแนะนำประกอบการพิมพ์หนังสือประทับตรา
05-หนังสือคำสั่ง
06-หนังสือคำสั่ง(กรณีรับคำสั่ง)
คำแนะนำประกอบการพิมพ์คำสั่ง
07-หนังสือระเบียบ
08-หนังสือประกาศ
คำแนะนำประกอบการพิมพ์ระเบียบ และประกาศ
09-หนังสือรับรอง
คำแนะนำประกอบการพิมพ์หนังสือรับรอง
10-หนังสือรายงานการประชุม
คำแนะนำประกอบการพิมพ์รายงานการประชุม










































วิธีการพิมพ์หนังสือราชการ โดยใช้โปรแกรม Microsoft word

คู่มือการพิมพ์หนังสือราชการ  โดยใช้โปรแกรม Microsoft word
โดย..คุณเบญจมาส  ชมภูทิพย์
ขั้นตอนการปฏิบัติ
1.  หลังจากติดตั้งโปรแกรม Microsoft Word และจัดเตรียมโครงร่างงานที่จะทำการบันทึก
2.  เข้าโปรแกรม Microsoft Word  โดยคลิกที่ปุ่ม Start  เลือก Programs จากนั้นเลื่อนเมาส์ไปที่ Microsoft Office แล้วคลิกที่ Microsoft Word

    -  จากนั้นจะปรากฏหน้าจอของ Microsoft Word  ขึ้นมา  ดังรูป



3.  ตั้งกั้นหน้าและก้นหลังของเอกสาร
3.1 คลิกที่ปุ่มแฟ้ม เลือก ตั้งค่าหน้ากระดาษ 
- ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านบน  1.02  เซนติเมตร
-  ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านล่าง  1  เซนติเมตร 
-  ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านซ้าย  3.17  เซนติเมตร 
-  ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านขวา  1.5  เซนติเมตร

แล้วกดปุ่ม ตกลง
4.  การสร้างหัวกระดาษบันทึกข้อความหนังสือราชการภายใน
                        4.1  คลิกไปที่ตาราง เลือก แทรก เลือก วาดตาราง 

ตารางที่ 1 จำนวนคอลัมน์ 2 คอลัมน์  จำนวนแถว 1 แถว แล้วกดปุ่มตกลง เพื่อนำครุฑที่มีขนาด กว้างและยาว1.5 เซนติเมตร ที่ทำการสแกนเก็บไว้ใน My Document นำเข้ามาวางไว้ในคอลัมน์ที่ 1
-  การนำครุฑเข้ามาใส่ในคอลัมน์ที่ 1 โดยการคลิกที่ปุ่มแทรก เลือก รูปภาพ เลือก ภาพจากแฟ้ม  เลือก  ภาพที่เก็บไว้ใน My Document  เป็นภาพครุฑ เลือก แทรก
-  ใส่คำว่า บันทึกข้อความ”  ด้วยตัวอักษร Cordia new ขนาด 48 ตัวหนา
ตารางที่  2  จำนวนคอลัมน์ 2 คอลัมน์  จำนวนแถว 1 แถว  แล้วกดปุ่มตกลง
                                     -  คอลัมน์ที่ 1 ใส่คำว่า ส่วนราชการ  ด้วยตัวอักษร Angsana newขนาด 18 ตัวหนา
                                     -  คอลัมน์ที่ 2  ใส่ กอง/สำนัก/เบอร์ติดต่อภายใน/ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ตารางที่  3  จำนวนคอลัมน์ 4 คอลัมน์ จำนวนแถว 1 แถว  แล้วกดปุ่มตกลง
                                     -  คอลัมน์ที่ 1 ใส่คำว่า ที่  ด้วยตัวอักษร Angsana newขนาด 18 ตัวหนา
                                    -  คอลัมน์ที่ 2  ใส่ ตัวย่อของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (คือ กษ)  ตามด้วยเลขที่ของกอง ด้วยตัวอักษร Angsana newขนาด 16 ตัวปกติ
                                     -  คอลัมน์ที่ 3 ใส่คำว่า วันที่  ด้วยตัวอักษร Angsana newขนาด 18 ตัวหนา
                                     -  คอลัมน์ที่ 4  ใส่ เดือน/ปี ด้วยตัวอักษร Angsana new ขนาด 16 ตัวปกติ
ตารางที่  4  จำนวนคอลัมน์ 2 คอลัมน์  จำนวนแถว 1 แถว  แล้วกดปุ่มตกลง
-  คอลัมน์ที่ 1 ใส่คำว่า เรื่อง  ด้วยตัวอักษร Angsana newขนาด 18 ตัวหนา

-  คอลัมน์ที่ 2  ใส่ ชื่อเรื่อง ด้วยตัวอักษร Angsana new ขนาด 16 ตัวปกติ


4.2  การปรับความกว้างของคอลัมน์ ในตาราง
                                     -  โดยการนำเมาส์ไปชี้ที่เส้นทางด้านขวาของคอลัมน์ ที่ต้องการปรับความกว้าง 
(ให้ตัวชี้ เมาส์เปลี่ยนเป็นลูกศรสองหัว)  แล้วกดเมาส์ (ปุ่มด้านซ้าย) ค้างไว้
                                     -  เมื่อลากเมาส์ไปทางซ้ายเพื่อลดขนาด หรือลากไปทางขวาเพื่อเพิ่มขนาดของคอลัมน์
ตามต้องการ
4.3  การปรับความสูงของแถว ในตาราง
                                     -  โดยการนำเมาส์ไปชี้ที่เส้นทางด้านล่างหรือบนของแถว (ให้ตัวชี้เมาส์เปลี่ยนเป็นลูกศร
สองหัว)  แล้วกดเมาส์ (ปุ่มด้านซ้าย) ค้างไว้
                                     -  เมื่อลากเมาส์ขึ้นบนเพื่อลดความสูง หรือลากลงล่างเพื่อเพิ่มความสูงของแถว
5.  ปัดหนึ่งบิดสอง  พิมพ์เรียน
                          -  การปิดหนึ่งบิดสองโดยการคลิกที่ปุ่ม รูปแบบ เลือก ย่อหน้า เลือก ระยะห่าง เลือก ก่อนหน้า 12 พ.
6.  ปัดหนึ่งบิดสอง  พิมพ์เนื้อเรื่อง
7.  ย่อหน้าทุกครั้ง ต้องห่างจากขอบด้านขวา 13 ตัวอักษร
8.  พิมพ์เนื้อเรื่องในย่อหน้าที่หนึ่ง  และย่อหน้าที่สองเสร็จแล้ว  ปัดหนึ่งบิดสอง  พิมพ์ย่อหน้าสุดท้าย
9.  เมื่อพิมพ์เนื้อเรื่องเสร็จสิ้น ทำการบันทึก  (Save) ข้อมูล
                          -  สำหรับการบันทึกเอกสารที่มีอยู่แล้ว  คลิกที่ปุ่ม แฟ้ม เลือก บันทึก หรือคลิกที่สัญลักษณ์บน
แถบเครื่องมือมาตรฐาน
                          -  สำหรับการบันทึกเอกสารที่ยังไม่มีที่เก็บ  คลิกที่ปุ่ม  แฟ้ม  เลือก  บันทึกเป็น 
                          -  ในกล่อง ชื่อแฟ้ม  ให้พิมพ์ชื่อ  แฟ้มใหม่สำหรับเอกสาร
                          -  ในกล่อง  เก็บเป็นชนิด ให้คลิกรูปแบบแฟ้มที่เข้ากันได้กับโปรแกรมอื่น ได้แก่ Word Document
                          -  คลิกปุ่ม บันทึก  เพื่อบันทึก (Save) ข้อมูล 

10.  การพิมพ์เอกสารอองทางเครื่องพิมพ์
-       เมื่อทำการบันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะทำการพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์
-       คลิกที่ปุ่ม แฟ้ม  เลือก  พิมพ์  หรือคลิกที่สัญลักษณ์  บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน
-       คลิกเลือกชื่อเครื่องพิมพ์ที่ถูกต้อง
-       คลิกเลือก  ในช่องของหน้า  คือ ทั้งหมด  หน้าปัจจุบัน  หรือระบุเลขหน้าที่ต้องการพิมพ์ก็ได้
-       คลิกเพื่อกำหนดคุณสมบัติให้กับเครื่องพิมพ์
-       ถ้าต้องการพิมพ์เอกสารออกมามากกว่าหนึ่ง ก็ให้ป้อนจำนวนชุดของเอกสารลงไปในช่องจำนวนสำเนา
-  คลิกที่ปุ่ม  ตกลง  นำเอกสารที่พิมพ์ออกมาทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง  แล้วนำเสนอผู้บังคับบัญชาต่อไป
11.  การทำสำเนาหนังสือ ให้นำเมาส์ไปคลิกที่ครุฑ แล้วกดปุ่ม Delete ส่วนบันทึกข้อความ,              ส่วนราชการ, ที่, วันที่  และเรื่อง  ให้นำเมาส์ไปคลุมข้อความดังกล่าว แล้วคลิกไปที่   เลือก  สีขาว ตามลำดับ


-         พิมพ์คำว่า ร่าง , พิมพ์ ,ทาน , ตรวจ  หรือพิมพ์ , ทาน , ตรวจ บริเวณท้ายกระดาษ ชิดกั้นขอบด้านขวา แต่ควรห่างจากท้ายกระดาษประมาณ หนึ่งนิ้ว
-         การทำสำเนาหนังสือ เมื่อสั่งพิมพ์เอกสารดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องทำการบันทึก (Save) ข้อมูล
12.  ออกจากโปรแกรมการใช้งาน คลิกที่ปุ่ม แฟ้ม  เลือก  จบการทำงาน

หมายเหตุ : ข้อมูลอ้างอิงจากแบบประเมินผลงานเพื่อเลื่อนตำแหน่ง (ปี 2551) ของ คุณเบญจมาส  ชมภูทิพย์

ความเป็นมาของการออกธนบัตรและการพิมพ์ธนบัตร

รัฐบาลไทยได้จ้างบริษัทโทมัส เดอ ลา รู ของอังกฤษพิมพ์ธนบัตรไทย และเริ่มนำธนบัตรออกใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ และได้หันมาพิมพ์เองในประเทศและให้ญี่ปุ่น จัดพิมพ์ให้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อครั้งที่ญี่ปุ่น ได้ยาตราทัพเข้ามาในประเทศไทย หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติ บริษัทโทมัส เดอ ลา รู ได้รับความเสียหายไม่สามารถกลับมาพิมพ์ธนบัตรให้ประเทศไทยได้ รัฐบาลได้ว่าจ้างบริษัททิวดอร์ของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้จัดพิมพ์ให้ จนถึงพ.ศ. ๒๔๙๐ ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรับหน้าที่ในการจัดพิมพ์ธนบัตรของรัฐบาลจึงได้หวนกลับไปว่าจ้างบริษัทโทมัส เดอ   ลา รู ของอังกฤษ จัดพิมพ์ธนบัตรไทยอีกครั้ง จนกระทั่งมีการตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นในประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ จึงได้เริ่มพิมพ์ธนบัตรเองในประเทศสืบมาจนทุกวันนี้
          การออกธนบัตรจะต้องเป็นไปตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อให้ธนบัตรเป็นที่เชื่อถือของประชนชน นั่นคือ เป็นไปตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติเงินตรา

          ตามพระราชบัญญัติเงินตรา ธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำธนบัตรออกใช้ได้ใน ๒ กรณี คือ
          ๑. แลกกับธนบัตรชำรุด
          ๒. แลกกับสินทรัพย์ในจำนวนที่เท่ากัน สินทรัพย์จำนวนนี้หมายถึง ทองคำ เงินตราต่างประเทศ หลักทรัพย์ต่างประเทศ หลักทรัพย์รัฐบาลไทย และหลักทรัพย์อื่น จำนวนสินทรัพย์ทั้งหมดส่วนที่เป็นทองคำ เงินตราต่างประเทศและหลักทรัพย์ต่างประเทศทั้งหมด จะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของธนบัตรที่นำออกใช้ทั้งสิ้น

          ธนบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำออกใช้ เป็นธนบัตรของรัฐบาลมีคำว่ารัฐบาลไทยอยู่บนธนบัตร ตามกฎหมายตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถออกธนบัตรของตนเองได้ เรียกว่า บัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทยออกบัตรธนาคารครั้งแรก เป็นธนบัตรฉบับละ  ๖๐ บาท ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ และออกในโอกาสพิเศษ คือ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ บุคคลทั่วไปจึงไม่นำออกใช้ ส่วนธนบัตรชนิดราคาอื่นๆ ยังเป็นธนบัตรของรัฐบาลเช่นเดิม



ที่มา http://guru.sanook.com/

ความหมายและประวัติความเป็นมาของธนบัตร

 

ในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้จัดทำ "หมาย" ขึ้นมีราคาต่างๆ กัน ตั้งแต่ ๑ บาท เป็นลำดับลงมาจนใบละเฟื้อง โดยพิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษและประทับตราพระราชลัญจกร ๓ ดวง และยังทรงให้สร้างใบ "พระราชทานเงินตรา" อีกแบบหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายเช็คในปัจจุบัน นับได้ว่ามีการใช้เงินตราทำด้วยกระดาษขึ้นในเมืองไทยเป็นครั้งแรกอันเป็นต้นตอของธนบัตร



          ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้มีการออกอัฐกระดาษขึ้น แต่ไม่เป็นที่นิยมจึงได้เลิกไป จนปี พ.ศ. ๒๔๔๕ จึงได้ออกธนบัตรชนิดละ ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท การจัดพิมพ์ธนบัตรได้จ้างพิมพ์มาจากต่างประเทศทั้งสิ้น คือจ้างบริษัทโทมัส เดอ ลา รู (Thomas de la Rue) จากประเทศอังกฤษ จนถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒ การคมนาคมติดขัด
          ประกอบกับประเทศไทยประกาศสงครามกับประเทศอังกฤษด้วย ทำให้ไม่สามารถจ้างพิมพ์ธนบัตรที่เดิมได้ จึงได้จ้างพิมพ์จากแหล่งอื่นๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และพิมพ์ขึ้นเองในประเทศไทยธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นเองในยุคนั้น พิมพ์ที่โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก แต่พิมพ์ได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้งาน จึงต้องจ้างพิมพ์ในโรงพิมพ์อื่นๆ ทั้งของส่วนราชการและของเอกชนในประเทศด้วย




          เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลงแล้ว มีการกลับไปจ้างพิมพ์ธนบัตรจากต่างประเทศอีกและได้มีการเปลี่ยนแหล่งจ้างพิมพ์ การพิมพ์ธนบัตรนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงของบ้านเมือง รัฐบาลจึงได้มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการศึกษาและจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรเพื่อพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองในเมืองไทย คือได้มีการสร้างโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นในสังกัดธนาคารแห่งประเทศไทยและทำพิธีเปิดดำเนินการในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยเริ่มพิมพ์ธนบัตรฉบับละ ๕ บาทออกมาก่อนและทยอยพิมพ์ฉบับที่มีมูลค่าสูงๆ ขึ้นไปออกมาตามลำดับและได้พิมพ์ธนบัตรฉบับ ๕๐๐ บาทออกใช้ด้วยในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้มีการจัดพิมพ์บัตรธนาคารออกมาเป็นพิเศษมีมูลค่าฉบับละ ๖๐ บาท เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ




แนะนำวิธีการสร้างเส้นกราฟ( a line graph ) ในโปรแกรมExcel สำหรับงานทำเอกสาร

คลิปสอนวิธีการใช้โปรแกรม Microsoft Excel 2010 สำหรับขั้นเริ่มต้นกับงานด้านเอกสาร

วิธีการจัดระยะ(aligment)และตำแหน่งของภาพที่นำมาวางกับข้อความในเอกสารที่ออกแบบในลงตัวและเหมาะสมด้วยโปรแกรมAdobe PageMaker

วิธีการใช้ Auto page number เพื่อตั้งหมายเลขหน้าแบบอัตโนมัติในการวางหน้าของเอกสารก่อนการพิมพ์ด้วยโปรแกรมPagemaker

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์